Covid 2019 ได้กลายมาเป็นวิกฤติในระดับโลก

ไวรัสโควิด-19 ได้กลายมาเป็นวิกฤติในระดับโลก มีผู้ติดเชื้อหลายหมื่น ผู้เสียเสียชีวิตหลายพันคน จนกระทั่งองค์การอนามัยโลกประกาศให้โควิด-19 เป็นโรคระบาด ซึ่งยังไม่แน่ชัดว่าโรคนี้จะสิ้นสุดลงเมื่อไร ในปัจจุบันยังไม่มียาต้านไวรัสชนิดนี้ สถาบันวิจัยหลายแห่งก็พยายามอย่างสุดความสามารถในการพัฒนายา แต่การพัฒนายาใหม่ขึ้นมาหนึ่งตัวก็ใช้เวลาทดลองยาเป็นปี กว่าจะพัฒนายาเสร็จการระบาดนี้อาจจะลดต่ำลงจนสามารถควบคุมได้

แต่ละประเทศก็มีแนวทางการควบคุมโรคระบาดที่แตกต่างกันออกไป บางประเทศก็ทำการทดลองชะลอการระบาดให้นานขึ้นเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันกลุ่ม (herd immunity) ส่วนอีกหลายประเทศและไทยก็พูดถึง social distancing หรือ การเพิ่มระยะห่างของคนในสังคม เพื่อป้องกันการกระจายของเชื้อไวรัสตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก ที่ระบุว่าควรอยู่ห่างกันอย่างน้อย 1 เมตร เพื่อป้องกันการสูดละอองน้ำมูกน้ำลายของผู้ติดเชื้อ มาตรการการเพิ่มระยะห่างทางสังคมก็มีหลายระดับ ขั้นสูงสุดคือการปิดการเข้าออกประเทศชั่วคราว การประกาศให้หยุดกิจกรรมต่างๆแล้วกักตามบ้าน การห้ามทำกิจกรรมของคนจำนวนมาก และการเคลื่อนย้ายกิจกรรมไปสู่พื้นที่จำกัดมากขึ้น โดยเชื่อว่าการจำกัดกิจกรรมและพื้นที่จะช่วยลดอัตราความเร็วในแพร่กระจายของไวรัสได้

มาตรการรักษาระยะห่างต้องการให้ผู้คนอยู่ห่าง แต่การจะทำได้นั้นรัฐต้องมีบทบาท “ใกล้ชิด” กับผู้คนมากขึ้น เพื่อจัดการให้เกิดความสัมพันธ์แบบรักษาระยะนั้น ไม่ว่าจะเป็นการเฝ้าระวังสถานการณ์การระบาด การอำนวยความสะดวกกิจกรรมของผู้คนที่เคยทำ ซึ่งการรัฐที่จะรับมือกับความไม่แน่นอนย่อมต้องพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่ดี เพื่อให้ทุกกลุ่มคนสามารถตอบสนองต่อโรคระบาดได้

หนึ่งในโครงสร้างพื้นฐานสำคัญที่อำนวยให้มาตรการ social distancing เกิดขึ้นได้คือการใช้ platform online ทดแทนกิจกรรมที่ผู้คนต้องพบปะกัน เช่น การติดต่อโดยใช้สมาร์ทโฟน การใช้แอปพลิเคชั่นพวก Microsoft Teams, Google Hangout, ZOOM เพื่อการประชุมงานออนไลน์หรือการปรับรูปแบบการสอนในมหาวิทยาลัยเป็นคอร์สออนไลน์ การสั่งอาหารผ่าน GET หรือ Grab การสั่งซื้อสินค้าผ่าน Lazada หรือ Shopeeเป็นต้น

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.